1.หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลาง(ทิศนา แขมมณี.2554:113-119)

             การจัดการเรียนการสอนในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลางนั้น ยึดครองอำนาจในการเรียนรู้ของผู้เรียนมาเป็นเวลานาน แต่ในความเป็นจริงในประเทศไทยการเรียนการสอนในลักษณะที่ครูเป็นศูนย์กลางยังหาหมดอำนาจไม่ ยังคงครองอำนาจอยู่อย่างเหนียวแน่น เป็นเหตุให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้กันขึ้น ความพยายามในการปฏิรูปการศึกษาได้ส่งผลให้ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ. 2542 อันเป็นกฎหมายการศึกษาฉบับแรกของประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่ากระบวนการเรียนการสอนจะต้องยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนหรือวิธีสอนทุกแบบ ล้วนมีประโยชน์และใช้ได้ หากทำได้ดีและเหมาะสมกับเนื้อหา ผู้เรียน สถานการณ์ และวัตถุประสงค์
1.1 การจัดการเรียนการสอนทางตรง
      ก. หลักการ
                                1. การจัดเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม เป็นไปตามลำดับขั้นตอน
                                2.การตรวจสอบพื้นฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในการทำความเข้าใจความรู้ใหม่ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้สิ่งใหม่
                                3. การนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างกระชับ ชัดเจน
                                4. การฝึกปฏิบัติใช้ความรู้หรือทักษะที่เรียนรู้ เป็นสิ่งจำเป็น
                                5. การได้รับข้อมูลป้อนกลับหรือทราบผลของการปฏิบัติของตนเอง
                                6. การฝึกปฏิบัติอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
       ข. นิยาม
                                การจัดการเรียนการสอนทางตรงหมายถึงการดำเนินการเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูล ความรู้ ข้อเท็จจริงหรือวิธีการ กระบวนการต่างๆอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยการถ่ายทอดข้อมูลเหล่านั้นอย่างตรงไปตรงมาด้วยวิธีการหรือกระบวนการที่ได้รับการยอมรับว่าใช้ได้ผลจากการวิจัยหรือจากความรู้ทางทฤษฎีหรือหลักการต่างๆ
ค. ตัวบ่งชี้ของการจัดการเรียนการสอนทางตรง
1. มีการจูงใจผู้เรียนให้ความสนใจต่อสิ่งที่จะนำเสนอ
2. มีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน
3. มีการทบทวนความรู้เดิมที่เป็นพื้นฐานของความรู้ใหม่
4. มีการนำเสนอความรู้ใหม่หรือเนื้อหาสาระที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้เรียนโดยผู้สอน
5. มีการให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้
6. ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแสดงออก
7. ผู้สอนประเมินผลการเรียนรู้
                1.1.1 การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ผลการวิจัย
                                1. ครูเป็นศูนย์กลาง
                                2. เป้าหมาย เน้นที่การเรียนรู้วิชาการหรือเนื้อหาสาระ
                                3. ความคาดหวังในทางบวก
                                4. ความร่วมมือของผู้เรียนที่สามารถวัดประเมินได้
                                5. บรรยากาศที่ปลอดภัย
                                6. มีกฎ ระเบียบ กติกา ที่ชัดเจนในการปฏิบัติงานและกิจกรรมต่างๆ
                รูปแบบ “ Basic Practice ” หรือการจัดการเรียนการสอนปฏิบัติการพื้นฐาน พัฒนาโดย เมอร์ฟี เวล และแมคกรีลประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้นตอน คือ
1.       ขั้นแนะนำบทเรียน
2.       ขั้นพัฒนา
3.       ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การควบคุม
4.       ขั้นฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำ
5.       ขั้นฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ
รูปแบบ “ Explicit Instruction ” หรือการจัดการเรียนการสอนแบบชัดแจ้ง พัฒนาโดย
โรเซนชายน์ และสตีเวนส์ ประกอบด้วยขั้นตอน 6 ขั้นตอน คือ
1.       ขั้นทบทวนความรู้เดิมและตรวจการบ้าน
2.       ขั้นนำเสนอเนื้อหาสาระหรือทักษะใหม่
3.       ขั้นนำให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
4.       ขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับและแก้ไขการปฏิบัติของผู้เรียน
5.       ขั้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ และ
6.       ขั้นการทบทวนการฝึกปฏิบัติรายสัปดาห์และรายเดือน
รูปแบบ “ Active teaching ” หรือการจัดการเรียนการสอนแบบติดตามต่อเนื่อง พัฒนาโดย
กู๊ด กราวส์ และเอ็บเมียร์อสำหรับการสอนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น คือ
1.       ขั้นเริ่ม
2.       ขั้นพัฒนา
3.       ขั้นให้ปฏิบัติงาน
4.       ขั้นให้การบ้าน
5.       ขั้นทบทวนอย่างต่อเนื่อง
การจัดการเรียนการสอนทางตรงแบบใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
ครูผู้สอนควรจะสอนตามทฤษฎีหรือหลักการที่ได้มีการศึกษา พิสูจน์ ทดสอบมา
อย่างดีแล้ว รูปแบบที่คนกลุ่มนี้ใช้และนิยมกันแพร่หลายที่จะกล่าวถึงในที่นี้มี 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบ “ The Mastery Teaching Program ” หรือโปรแกรมการสอนเพื่อการรู้จริง เป็น
รูปแบบที่พัฒนาโดยฮันเทอร์ ผู้ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้และการสอนของกานเย ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ คือ
1.       ขั้นเตรียมความพร้อมของผู้เรียน
2.       ขั้นการให้ข้อมูลและการแสดงตัวแบบ
3.       ขั้นตรวจสอบความเข้าใจและ
4.       ขั้นให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติตามคำแนะนำ
รูปแบบ “ DISTAR ” หรือ ระบบการสอนทางตรงเพื่อการเรียนรู้และการสอน เป็นรูปแบบ
ที่พัฒนาโดย บีไรเทอร์ อิงเกิลแมน โปรแกรมมีโครงสร้างที่รัดกุมและรายละเอียดที่ชัดเจน แม้ข้อความหรือประโยคที่ครูจะพูดกับเด็กก็ได้รับการเขียนอย่างดี ถูกต้องตามหลักการเรียนรู้ ผู้สอนจะต้องดำเนินการทุกอย่างตามที่โปรแกรมได้กำหนดไว้
  เอกสารอ้างอิง    ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย