2.หลักการจัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(ทิศนา แขมมณี.2554:119-148)

มีแนวคิดว่า ในการสอนครูต้องคำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญและช่วยให้ผู้เรียน
เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการต่างๆ มิใช่เพียงการถ่ายทอดความรู้เท่านั้น เช่น การให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการกระทำ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นตัวตั้ง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับผู้เรียนและประโยชน์สูงสุดที่ผู้เรียนควรจะได้รับ และมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงได้ดี ควรเป็นการตื่นตัวที่เป็นไปอย่างรอบด้านทั้งทางด้านกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ เพราะพัฒนาการทั้ง 4 ด้านมีความสัมพันธ์ต่อกันและกัน และส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนดังนี้
1.       การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางกาย
2.       การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสติปัญญา
3.       การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางอารมณ์
4.       การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทางสังคม
จะเห็นได้ว่า การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวเป็นกระบวนการที่ช่วยนำผู้เรียนไปสู่การเกิดการ
เรียนรู้ที่แท้จริง ซี่งปกติโดยทั่วไปแล้วครู/ผู้สอนจะจัดการเรียนการสอนเช่นนี้ได้ ก็ต้องมีการดำเนินการที่สำคัญๆ 2 ประการคือ
1.       ครูต้องคิดจัดเตรียมกิจกรรม/ประสบการณ์ที่จะเอื้อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวและได้ใช้
กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การเกิดการเรียนรู้ที่แท้จริงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้
2.       ในขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ครูควรลดบทบาทของตนเองลงและเปลี่ยนแปลง
บทบาทจากการถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้อำนวยความสะดวก/ช่วยให้ผู้เรียนดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
2.1 แบบเน้นตัวผู้เรียน
2.1.1 การจัดการเรียนการสอนตามเอกัตภาพ
                ก. หลักการ
                การจัดการเรียนการสอนให้เหมาะกับภูมิหลังของผู้เรียน ลักษณะของผู้เรียน และสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                ข. นิยาม
                ผู้สอนจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยผู้เรียนและทดสอบผู้เรียนก่อนเรียนและใช้ผลการวินิจฉัยในการวางแผนการเรียนให้แก่ผู้เรียนเป็นรายบุคคล ผู้เรียนจะดำเนินการเรียนรู้ตามแผนและประเมินผลการเรียนรู้ของตน
                ค. ตัวบ่งชี้
                1. ผู้สอนมีการวินิจฉัยความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                2. ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียนรู้ ก่อนการเรียน
                3. ผู้สอนมีการจัดกลุ่มผู้เรียนที่มีความต้องการคล้ายคลึงกันไว้ด้วยกัน
                4. ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนให้สนองความต้องการของผู้เรียน
                5. ผู้สอนมีการจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยวิธีการต่างๆ ตามความเหมาะสม
                6. ผู้สอนมีการให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับระบบและวิธีการในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                7. ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผน ผู้สอนดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                8. ผู้เรียนมีการทำแบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อจบหน่วยการเรียน
                9. ผู้สอนมีการจัดทำแฟ้มการเรียนของผู้เรียนเป็นรายบุคคลและใช้ผลการทดสอบเป็นข้อมูลในการวางแผนการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนต่อไป
2.1.2 การจัดการเรียนรู้โดยผู้เรียนนำตนเอง
                ก. หลักการ
                1. ผู้เรียนพึ่งพาตนเอง และพัฒนาตนเองได้
                2. ผู้เรียนนำตนเองและเลือกวิธีการเรียนรู้เอง
ข. นิยาม
                การจัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนนำตนเอง หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ค. ตัวบ่งชี้
                1. ผู้เรียนมีการวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                2. ผู้เรียนมีการวินิจฉัยความต้องการเรียนรู้ของตน
                3. ผู้เรียนมีการตั้งเป้าหมายในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                4. ผู้เรียนมีการเลือกวิธีเรียนด้วยตนเอง
                5. ผู้เรียนมีการแสวงหาแหล่งความรู้ รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง
                6. ผู้เรียนมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                7. ผู้สอนมีการสนับสนุน ส่งเสริม ให้คำแนะนำ และความช่วยเหลือแก่ผู้เรียนในขั้นตอนต่างๆ ตามความเหมาะสมและความจำเป็น
                8. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลโดยใช้ผลการประเมินของตนเองและของผู้เรียนประกอบกัน
2.2 แบบเน้นความรู้ ความสามารถ
2.2.1 การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง
                ก. หลักการ
                ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หากผู้เรียนได้รับเวลาที่จะเรียนรู้เรื่องนั้นๆ อย่างเพียงพอตามความต้องการของตน 
ข. นิยาม
                การจัดการเรียนรู้แบบรู้จริง หมายถึง กระบวนการในการดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคน ซึ่งมีความสามารถและสติปัญญาแตกต่างกัน สามารถเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง  เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด
                ค. ตัวบ่งชี้
                1. ผู้สอนมีการกำหนดวัตถุประสงค์อย่างละเอียดในการเรียนรู้เนื้อหาสาระ
                2. ผู้สอนมีการวางแผนการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนแต่ละคน
                3. ผู้สอนมีการชี้แจงให้ผู้เรียนเข้าใจเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย วิธีการเรียนรู้ และระเบียบ กติกา ข้อตกลงต่างๆ เกี่ยวกับการทำงาน
                4. ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ตามแผนการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดไว้และมีการประเมินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
                5. หากผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่งที่กำหนดไว้แล้ว จึงจะมีการดำเนินการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อถัดไปได้
                6. หากผู้เรียนยังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ผู้สอนจะต้องมีการวินิจฉัยปัญหาและความต้องการของผู้เรียน และจัดโปรแกรมสอนซ่อมในส่วนที่ยังไม่สัมฤทธิ์ผล แล้วจึงทำการประเมินผลอีกครั้งหนึ่ง
                7. ผู้เรียนมีการดำเนินการเรียนรู้ไปอย่างต่อเนื่องตามลำดับของวัตถุประสงค์ที่กำหนด
                8. ผู้สอนมีการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน และเก็บข้อมูลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
2.2.2 การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล
                ก. หลักการ
                1. ผู้เรียนทุกคนมีศักยภาพและ ประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้หากได้รับความช่วยเหลือตามปัญหาและความต้องการของเขา
                2. การที่ผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนสามารถที่จะพิสูจน์ทดสอบได้
                3. การทดสอบช่วยให้ผู้สอนได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียน
               

ข. นิยาม
                การจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล หมายถึง การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ที่สามารถพิสูจน์ทดสอบได้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ และผู้สอนดำเนินการทดสอบตามวัตถุประสงค์นั้น วัตถุประสงค์ที่กำหนดจึงควรเป็นวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมและเป็นไปได้สำหรับผู้เรียน
                ค. ตัวบ่งชี้
                1. ผู้สอนมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการสอนที่ชัดเจนและสามารถทำการทดสอบได้
                2. ผู้เรียนมีการได้รับรู้วัตถุประสงค์ดังกล่าวทั้งก่อนการเรียนและก่อนรับการทดสอบ
                3. ผู้สอนมีการทดสอบผู้เรียนเป็นรายบุคคล
                4. ผู้สอนมีการดำเนินการสอนซ้ำหรือสอนใหม่อีกครั้งหนึ่งให้แก่ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านวัตถุประสงค์ จนกระทั่งผู้เรียนทุกคนสอบผ่านตามวัตถุประสงค์
2.2.3           การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์
ก.       หลักการ
1.       เน้นการเรียนรู้ความคิดเชิงนามธรรม
2.       ทั้งผู้สอนและผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการในการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
3.       มองเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูล ความรู้ต่างๆ แทนที่จะเรียนรู้เพียงข้อเท็จจริงเท่านั้น
4.       พัฒนาทักษะในการสอนและผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลายและซับซ้อนขึ้น
ข.      นิยาม
การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นมโนทัศน์ หมายถึง การวางแผนการจัดการเรียนการ
สอนโดยการระบุมโนทัศน์ หรือความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนได้รับและดำเนินการเรียนการสอนโดยใช้วิธีการและกระบวนการต่างๆ
ค.      ตัวบ่งชี้
1.       ผู้สอนมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ และระบุมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอดที่
ต้องการสอนอย่างละเอียดและอย่างชัดเจน
2.       ผู้สอนมีการคิดและเขียนรายการคำถามที่สำคัญๆที่จะช่วยนำผู้เรียนไปสู่
ความคิดเชิงนามธรรม หรือมโนทัศน์นั้นๆ
3.       ผู้สอนมีการระบุกระบวนการและทักษะต่างๆที่ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ในการ
เรียนรู้มโนทัศน์นั้นๆ
4.       ผู้เรียนมีการสร้างความรู้ความเข้าใจในมโนทัศน์ด้วยตนเอง
5.       ผู้เรียนมีการสรุปมโนทัศน์ที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
6.       ผู้เรียนมีการนำมโนทัศน์ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆ
7.       ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้มโนทัศน์ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้รวมทั้งการเรียนรู้ด้านกระบวนการและทักษะที่ใช้ในการเรียนรู้
2.3        แบบเน้นประสบการณ์
2.3.1 การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์
     ก. หลักการ
     กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน คือ
1.       ขั้นการรับประสบการณ์รูปธรรม
2.       ขั้นการสังเกตอย่างไตร่ตรอง
3.       ขั้นการสร้างแนวคิดเชิงนามธรรม
4.       ขั้นการทดลองประยุกต์หลักการไปใช้ในสภาพการณ์ใหม่
ข. นิยาม
     การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ หมายถึง การดำเนินการอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในเรื่องที่เรียนรู้ก่อน และให้ผู้เรียนสังเกต ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น
ค. ตัวบ่งชี้
     1. ผู้สอนมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องที่เรียนรู้ ให้ผู้เรียนได้ลงไปประสบด้วยตนเอง
     2. ผู้เรียนมีการสะท้อนความคิด และอภิปรายร่วมกัน เกี่ยวกับสิ่งที่ได้ประสบมา หรือเกิดขึ้นในสถานการณ์การเรียนรู้นั้น
     3. ผู้เรียนมีการสร้างความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานจากประสบการณ์ที่ได้รับ
     4. ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานต่างๆ ที่สร้างขึ้น ไปทดลองหรือประยุกต์ใช้สถานการณ์ใหม่ๆ
     5. ผู้สอนมีการติดตามผล และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการทดลอง/ประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อขยายขอบเขตของการเรียนรู้
     6. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล
                2.3.2 การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม
                                ก. หลักการ
                                การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมอันจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคิด ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง
ข. นิยาม
                                การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม หมายถึงการดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคม
ค. ตัวบ่งชี้
                                1. ผู้เรียนมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาชุมชน
                                2. ผู้เรียนมีการศึกษาความต้องการของชุมชน และเลือกกิจกรรมที่จะรับใช้สังคม
                                3. ผู้เรียนมีการวางแผนการรับใช้สังคมในกิจกรรมที่เลือก
                                4. ผู้เรียนมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการรับใช้สังคม
                                5. ผู้เรียนมีการวิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในขณะปฏิบัติการรับใช้สังคม และมีการคิดพัฒนา
                                6. ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานที่ได้ไปทดลองใช้ หรือนำไปประยุกต์ใช้ในสภาพการณ์ใหม่ๆ
                            *7. ผู้สอนมีการติดตามผลการนำความรู้/ความคิด/หลักการ/สมมติฐานไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการนำไปใช้ และอภิปรายหาข้อสรุป ความรู้ ความคิดใหม่ๆ หรือปรับเปลี่ยนความคิดตามความเหมาะสม
                                8. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยใช้ผลการประเมินการเรียนรู้ของตนเองของผู้เรียน             
*หมายเหตุ สำหรับข้อที่ 7 แม้จะไม่ปรากฏในกระบวนการของการจัดการเรียนรู้แบบนี้โดยทั่วๆ ไป แต่ผู้เขียนตั้งใจที่จะเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อช่วยให้กระบวนการสอนแบบนี้มีความสมบูรณ์ครบวงจร และได้ผลมากขึ้น
สรุปหนังสือศาสตร์ หน้า132-155

การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม                                                                                                                 หลักการ การเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นการเรียนรู้จากรูปธรรมไปสู่นามธรรมอันจะช่วยให้ผู้เรียน
เกิดความคิด ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง                                                                                                                                           
นิยาม   การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคม คือ การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนเข้าไปมีประสบการณ์ในการรับใช้สังคมทั้งนี้ผู้เรียนต้องสำรวจความต้องการของชุมชนและวางแผนเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ                                                                                                                                                  
ตัวบ่งชี้
 1. ผู้เรียนมีการกำหนดขอบเขตของการศึกษาชุมชน                                                                                                
2. ผู้เรียนมีการศึกษาความต้องการของชุมชน                                                                                                                     3. ผู้เรียนมีการวางแผนในการรับใช้สังคมในกิจกรรมที่เลือก                                                                                                 4. ผู้เรียนมีการจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติการรับใช้สังคม                                                                                       5. ผู้เรียนมีการวิเคราะห์เหตุการณ์และสิ่งต่างๆ                                                                                                                         6. ผู้เรียนมีการนำความคิดรวบยอด/หลักการ/สมมติฐานที่ได้ไปทดลองใช้                                                                             7. ผู้สอนมีการติดตามผลการนำความรู้/ความคิด/หลักการ/สมมติฐานไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนผลการำไปใช้ และอภิปรายหาข้อสรุป                                                                                                                                      8. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง
หลักการ
การเรียนรู้เรื่องใดๆก็ตามต้องมีความสัมพันธ์ของบริบทของเรื่องนั้นๆ                                                             2. สภาพการณ์จริง ปัญหาจริง เป็นโลกแห่งความจริง ซึ่งทุกคนจะต้องเผชิญ                                                                     3. การเรียนรู้ความเป็นจริง ของจริง เป็นการเรียนรู้ที่มีความหมาย เพราะสามารถนำไปใช้ได้                                              4. การให้ผู้เรียนเผชิญปัญหาและแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต                                              การเรียนรู้ตามสภาพจริงนั้น ตามหลักการแล้วควรเป็นการเรียนรู้ที่ไม่แยกออกจากบริบทเป็นการเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามสภาพและบริบทจริงไม่ดึงเอาเรื่องนั้นออกจากบริบทที่เป็นอยู่ 
 นิยาม การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง คือ การดำเนินการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยให้ผู้เรียนเข้าไปเผชิญสภาพการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริงและร่วมกันศึกษาเรียนรู้ แสวงหาความรู้ ข้อมูลและวิธีการต่างๆ                                                                                                                                                                         
ตัวบ่งชี้
1. ผู้สอนมีการนำผู้เรียนเข้าไปเผชิญสถานการณ์จริง ปัญหาจริง ในบริบทจริง                                                        2. ผู้เรียนมีการคิดวิเคราะห์ปัญหา แสวงหาความรู้ ข้อมูลและวิธีการต่างๆ                                                                             3. ผู้เรียนมีการตัดสินใจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน                                                                             4. ผู้เรียนได้รับผลจากการตัดสินใจและการกระทำของตนจากสังคม                                                                                    5. ผู้เรียนมีการอภิปราย แลกเปลี่ยนความรู้และความเข้าใจสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของตน                                 6. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผล ทั้งทางด้านความรู้ ทักษะและเจตคติ                                                                               
แบบเน้นปัญหา                                                                                                                                           
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก                                                                                         
หลักการ  ปัญหาสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดภาวะงุนงงสงสัยและความต้องการที่จะแสวงหาความรู้เพื่อขจัดความสงสัยดังกล่าว                                                                                                                                                    
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายโดยผู้สอนอาจนำผู้เรียนไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง                                                                                                                                                          
ตัวบ่งชี้
1.ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันเลือกปัญหาที่ตรงกับความสนใจของผู้เรียน                                                             2. ผู้สอนและผู้เรียนมีการออกไปเผชิญสถานการณ์ปัญหาจริง                                                                                               3. ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและหาสาเหตุของปัญหา                                                                               4. ผู้เรียนมีการวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกัน                                                                                                                        5. ผู้สอนมีการให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้เรียนในการแสวงหาแหล่งข้อมูล                                    6. ผู้เรียนมีการค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง                                                                                                                  7. ผู้สอนมีการกระตุ้นให้ผู้เรียนแสวงหาทางเลือกในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย                                                                      8. ผู้เรียนมีการลงมือแก้ปัญหา รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สรุป และประเมินผล                                                                       9. ผู้สอนมีการติดตามการปฏิบัติงานของผู้เรียนและให้คำปรึกษา                                                                                           10. ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้                                                                                                                                


การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก                                                                                                                 
หลักการ
1. โครงการหรือโครงงาน เป็นกิจกรรมที่มีบริบทจริงเชื่อมโยงอยู่ดังนั้นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจึงสัมพันธ์กับความเป็นจริง                                                                                                                                                      2. การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงานและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เข้าโครงการสืบสอบ                                                 3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก ช่วยให้ผู้เรียนได้ผลิตงานที่เป็นรูปธรรมออกมา                                      4. การแสดงผลงานต่อสาธารณชน สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้และการทำงานให้แก่ผู้เรียนได้                                     5. การให้ผู้เรียนทำโครงการหรือโครงงานนอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะกระบวนการในการสืบสอบและการแก้ปัญหา                                                                                                                                                             
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงการเป็นหลัก คือ การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน โดยให้ผู้เรียนได้ร่วมกันเลือกทำโครงการที่ตนสนใจ โดยร่วมกัน สำรวจ สังเกต และกำหนดเรื่องที่ตนเองสนใจ วางแผน ศึกษาหาข้อมูล เก็บข้อมูล และนำเสนอ สรุปผลการเรียน                                                                                         
ตัวบ่งชี้ 
1. ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายปัญหาต่างๆร่วมกัน ผู้เรียนเลือกปัญหาที่ตนสนใจ                                                  2. ผู้สอนมีการชี้แจงหรือทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์ในการทำโครงการ                                                            3. ผู้เรียนมีการศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่จะทำจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย                                                                        4. ผู้เรียนมีการวางแผนการจัดทำโครงการ                                                                                                                               5. ผู้เรียนมีการเขียนโครงการและนำเสนอผู้สอน                                                                                                                    6. ผู้เรียนมีการดำเนินงานตามแผนที่ได้กำหนด                                                                                                                      7. ผู้สอนและผู้เรียนมีการนำผลงานของผู้เรียนออกมาแสดง                                                                                                     8. ผู้เรียนมีการปรับปรุงผลงานและเขียนรายงาน                                                                                                                     9. ผู้เรียนมีการนำผลงานออกแสดงต่อสาธารณชน                                                                                                                   10. ผู้สอนมีการจัดให้ผู้เรียนนำผลงาน ประสบการณ์และข้อมูลทั้งหมดมาอภิปราย                                                                 11. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลชิ้นงาน




แบบเน้นทักษะกระบวนการ    
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ                                                                                                         หลักการ  การสืบสอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการที่จำเป็นต่อการแสวงหา
และศึกษาข้อมูลความรู้ต่างๆ                                                                                                                                                               
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการสืบสอบ คือ การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดคำถาม เกิดความคิด และลงมือเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อนำมาประมวลหาคำตอบหรือข้อสรุปด้วยตนเอง                                                                                                                                                                   
ตัวบ่งชี้
1.ผู้สอนมีกระบวนการสอน/กิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดวิเคราะห์                                            2. ผู้สอนมีเอกสารวัสดุ หรือสื่อที่ผู้เรียนสามารถใช้ประกอบการคิดวิเคราะห์และการศึกษาเรื่องที่เรียน                                3. ผู้เรียนมีการศึกษาค้นคว้าหาความรู้/คำตอบโดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ที่เหมาะสม                                                  4. ผู้สอนมีการช่วยพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในการศึกษาวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล หรือสร้างความรู้ที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียน                                                                                                                                           5.ผู้สอนมีการวัดละประเมินผลการเรียนทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการสืบสอบหาความรู้                                     การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด                                                                                                                 
หลักการ  กระบวนการคิดเป็นกระบวนการทางสติปัญญา ซึ่งอาศัยสิ่งเร้าและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม การฝึกทักษะการคิด การใช้ลักษณะการคิดแบบต่างๆรวมทั้งกระบวนการคิดที่หลากหลายจะช่วยให้เกิดการคิดอย่างจงใจ                                                                                                                                                                                 
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด คือ การดำเนินการเรียนการสอนโดยผู้สอนใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนต่างๆกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคิดขยายต่อเนื่องจากความคิดเดิมที่มีอยู่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง                                                                                                                                                     
ตัวบ่งชี้
1. ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน                                                                                                                        2. ผู้สอนมีการใช้รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสอนต่างๆ                                                                                                  3. ผู้สอนมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดและกระบวนการคิดต่างๆ                                                   4. ผู้สอนมีการให้โอกาส และเวลาแก่ผู้เรียน ในการใช้ความคิดและแสดงความคิด                                                                5. ผู้สอนและผู้เรียนหรือผู้เรียนและผู้ เรียนมีการอภิปรายโต้ตอบกันเกี่ยวกับความคิดที่เกิดขึ้นในกระบวนเรียนการสอน                                                                                                                                                                          6. ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันสรุปประเด็นที่ได้จากกระบวนคิดที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน                                         7. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการคิด                                                          
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม                                                                                                               
หลักการ กระบวนการกลุ่ม เป็นกระบวนการในการทำงานร่วมกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปโดยมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน และมีการดำเนินงานร่วมกันโดยผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มต่างๆก็ทำหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสม                                                                                                                                                                      
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม คือ การดำเนินการเรียนการสอนโดยที่ผู้สอนให้ผู้เรียนทำงาน/กิจกรรมกลุ่ม พร้อมทั้งสอน/ฝึก/แนะนำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกลุ่มที่ดีควบคู่ไปกับการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้                                                                                                                 
ตัวบ่งชี้
1.       ผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์/ทำงาน/ทำกิจกรรม ร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์                                                                                                                                                                             2. ผู้สอนมีการฝึก/ชี้แนะ/สอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการทำงานกลุ่มที่ดีในจุดใดจุดหนึ่งของกระบวนการ                                                                                                                                                                    3. ผู้เรียนมีการวิเคราะห์การเรียนรู้ของตนเองทั้งในด้านเนื้อหาสาระที่เรียนและกระบวนการร่วมกัน                                       4. ผู้สอนมีการวิเคราะห์และประเมินผล                                                                                                                                 การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย                                                                                                                     หลักการ  กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการแสวงหาความรู้เพื่อให้ได้
ข้อมูลความรู้ที่เชื่อถือได้                                                                                                                                                                   
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการวิจัย คือ การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอน ที่ให้ผู้เรียนกระบวนการวิจัย หรือผลการวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ                                                          
ตัวบ่งชี้
 1. ผู้สอนมีการนำผลการวิจัยมาใช้ประกอบการสอนเนื้อหาสาระของตน                                                                2. ผู้สอนมีการให้ผู้เรียนประมวลผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระที่เรียนเพื่อขยายขอบเขต                                        3. ผู้สอนมีการใช้กระบวนการวิจัยในการสอน                                                                                                                        4. ผู้สอนมีการฝึกฝนทักษะการวิจัยที่จำเป็น หรือที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียนให้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสม                              5. ผู้สอนและผู้เรียนมีการอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยและผลการวิจัย                                                               6. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทั้งทางด้านเนื้อหาสาระและกระบวนการวิจัย                                                      การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง                                                                                             
หลักการ  ผู้เรียนทุกคนมีความสนใจใฝ่รู้อยู่เป็นธรรมชาติ หากได้รับการส่งเสริมให้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนและได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง                                                                     
นิยาม  การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง คือ การจัดสภาพการณ์ของการเรียนการสอนที่ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง                                                                            
ตัวบ่งชี้
1. ผู้เรียนมีการเลือกหัวข้อ เนื้อหาวิธีการ และสื่อการเรียนการสอนได้ตามความสนใจหรือความถนัด            
2. ผู้สอนมีการจัดเตรียมหรือออกแบบเนื้อหา/วัสดุ/สื่อ/กิจกรรม ให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง                                     3. ผู้สอนมีการพูดคุยกับผู้เรียนเกี่ยวกับการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง โดยให้คำแนะนำหรือให้ความรู้เกี่ยวกับหัวข้อเนื้อ วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเลือก                                                                                          4. ผู้เรียนมีการดำเนินการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง                                                                                                                5. ผู้สอนมีการพบปะพูดคุยกับผู้เรียนเป็นระยะๆมีการนำผลงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมาพูดคุย                                     6. ผู้สอนมีการวัดและประเมินผลการเรียน ทั้งทางด้านเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง                                          แบบเน้นการบูรณาการ                                                                                                                                                        
หลักการ
 1. ในธรรมชาติและชีวิตจริง ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีความสัมพันธ์กันการเรียนรู้ที่ดีจึงควรมีคุณลักษณะเช่นเดียวกัน                                                                                                                                                          2. การบูรณาการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้หลายๆด้านความรู้ ทักษะ และ เจตคติไปพร้อมๆกัน                                                                                                                                                              3. การบูรณาการช่วยเปิดโลกทัศน์ของทั้งสอนและผู้เรียนให้กว้างขึ้นไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะด้าน                                             
นิยาม การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นการบูรณาการ คือ การนำเนื้อหาสาระที่มีความเกี่ยวข้องกันมาสัมพันธ์ให้เป็นเรื่องเดียวกัน                                                                                                                                               
ตัวบ่งชี้
 1. ผู้สอน และผู้เรียนมีการจัดเตรียมหน่วยบูรณาการโดยมีการวิเคราะห์ อภิปรายเกี่ยวกับหลักสูตร เนื้อหาสาระและวัตถุประสงค์ และเนื้อหาสาระภายในวิชา                                                                                                   2. ผู้สอน หรือผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สามารถสนองวัตถุประสงค์ที่กำหนด                                                                                                                                                            3. ผู้เรียนมีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้คำปรึกษาแนะนำของผู้สอน                                                                      4. ผู้สอนและผู้เรียนมีการร่วมกันอภิปรายสะท้อนความคิด และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ                                                        5. ผู้สอนมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนครบถ้วนทุกด้าน
  เอกสารอ้างอิง    ทิศนา  แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย